logo
กรมธนารักษ์
สำนักงานธนารักษ์พื้นที่ยะลา
THE TREASURY
DEPARTMENT
MENU
  • A
  • A
  • A

วิสัยทัศน์/ภารกิจ/พันธกิจ

 

วิสัยทัศน์ กรมธนารักษ์

       เป็นหน่วยงานที่มีคุณภาพในการบริหารทรัพย์สินภาครัฐ เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนภายใต้การปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว โปร่งใส และเป็นธรรม

ภารกิจของสำนักงานธนารักษ์พื้นที่ยะลา
       มีอำนาจหน้าที่ภายในเขตท้องที่รับผิดชอบ ดำเนินการเกี่ยวกับการปกครองการดูแล การบำรุงรักษา และการพัฒนาศักยภาพที่ราชพัสดุ ดำเนินการเกี่ยวกับการใช้ที่ราชพัสดุ รวมทั้งการจัดหาประโยชน์และทำนิติกรรมที่เกี่ยวข้องกับที่ราชพัสดุ ดำเนินการเกี่ยวกับการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินอื่นตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการและประสานงานเกี่ยวกับเงินคงคลังและเงินตราที่เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

 


ภารกิจแยกตามการจัดแบ่งโครงสร้างภายในองค์การ
ส่วนบริหารทั่วไป มีบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในฝ่าย จำนวน 5 อัตรา
        ดำเนินการด้านบริหารงานทั่วไป การเงิน การคลัง งบประมาณการพัสดุ การประชาสัมพันธ์ การบริหารราชการภายในหน่วยงานให้เป็นไปตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2532 ในการบริการประชาชน และดําเนินภารกิจตามนโยบาย/โครงการรัฐบาลที่สําคัญ ตามกรอบของกฎหมาย

ส่วนจัดการที่ราชพัสดุ มีบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในส่วน จำนวน 3 อัตรา

 

 

  • ควบคุม ดูแล การใช้ประโยชน์ที่ราชพัสดุ

  • อนุญาตให้ส่วนราชการใช้ที่ดิน และหรือสิ่งปลูกสร้างในที่ราชพัสดุ

  • อนุญาตให้ส่วนราชการใช้ทรัพยากรในที่ราชพัสดุ

  • อนุญาตให้ส่วนราชการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้ที่ราชพัสดุ

  • ควบคุม และบริหารจัดการการจัดสร้างและการใช้ศูนย์ราชการ ศูนย์บ้าน

  • พักข้าราชการ ให้เป็นไปตามสัญญา ระเบียบและหลักเกณฑ์ที่กําหนด

  • ดําเนินการเกี่ยวกับการบริหารจัดการ การจัดสร้างสวนสาธารณะให้เป็นไปตามสัญญาและหลักเกณฑ์ที่กําหนดพัฒนา และจัดหาประโยชน์ในที่ราชพัสดุ

  • การจัดให้เช่า การจัดหาประโยชน์ การทําสัญญาต่างตอบแทนอื่น

  • การโอนสิทธิการเช่า เปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การเช่า

  • การต่ออายุสัญญาเช่า การให้เช่าแทนผู้เช่าเดิมที่ถึงแก่กรรม

  • การอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างในที่เช่า

  • การขอดําเนินการอื่น ๆ ตามสัญญาและนอกเหนือสัญญา

  • การใช้สิทธิตามสัญญา การบอกเลิกสัญญา

  • การพิจารณาเรื่องร้องเรียนต่าง ๆ เกี่ยวกับการเช่าหรือการจัดหา
    ประโยชน์ 

 

ส่วนจัดการฐานข้อมูล มีบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในส่วน จำนวน 2 อัตรา

  • ดูแล ควบคุมทะเบียนและหลักฐานที่ราชพัสดุ

  • จัดทําทะเบียนที่ราชพัสดุฉบับจังหวัด

  • ตรวจสอบและดําเนินการเกี่ยวกับทะเบียนที่ราชพัสดุเพื่อให้ได้ระบบฐานข้อมูลทางทะเบียนที่ถูกต้อง ทันสมัย

  • เก็บรักษา และจัดทําบัญชีคุมสําเนาหนังสือสําคัญสําหรับที่ดินที่ราชพัสดุ

  • อนุญาตให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและนําวัสดุที่ได้จากการรื้อถอนไปใช้ ประโยชน์

  • เป็นผู้แทนกระทรวงการคลังเพื่อรับเงินค่าทดแทนทรัพย์สินที่รื้อถอนหรือค่าเวนคืนที่ดินจากหน่วยงานของรัฐตามกฎหมายคืนหรือกฎหมายอื่น

  • การรับมอบการส่งคืนที่ดินจากการใช้ประโยชน์ในราชการหรือจากการ จัดให้เช่า

  • ให้คําแนะนํา จัดทําคู่มือ ตอบข้อหารือเกี่ยวกับงานทะเบียนที่ราชพัสดุดําเนินการสํารวจและส่งเสริมการรังวัด

  • ดําเนินการสํารวจรังวัด จัดทําแผนที่เพื่อให้ทราบถึงที่ตั้งแนวเขตรายละเอียดทางกายภาพการใช้ประโยชน์

  • การสํารวจรังวัดกําหนดขอบเขตกําแพงเมือง คูเมืองในภาคสนาม

  • จัดหาข้อมูลเกี่ยวข้องกับที่ราชพัสดุจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น รูป แผนที่ ภาพถ่ายทางอากาศ ค่าพิกัด หมุดหลักฐานที่ดิน

  • ดําเนินการให้ได้มาซึ่งหนังสือสําคัญสําหรับที่ดินและดําเนินการอื่น ๆ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน

  • รวบรวมเก็บรักษา ตรวจสอบหนังสือสําคัญสําหรับที่ดิน

  • พิจารณาให้ความเห็นประกอบการดําเนินการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการปกครองดูแล บำรุงรักษาและการใช้ที่ราชพัสดุ พ.ศ.2546

  • จัดเก็บหลักฐานการสํารวจและแผนที่ที่ราชพัสดุ

  • จัด เก็บ ควบคุม ดูแล จัดหา บํารุงรักษาเครื่องมือสํารวจรังวัดจัดทําแผนที่

  • ให้การสนับสนุน คําปรึกษา ข้อเสนอแนะ ตอบข้อหารือในการดําเนินการสํารวจ รังวัด จัดทําแผนที่

  • ดําเนินการวางแผนและการพัฒนาศักยภาพที่ราชพัสดุ

  • ดําเนินการจัดทําแผนการใช้ที่ราชพัสดุ

  • ดําเนินการเกี่ยวกับการโยกย้ายหน่วยงานผู้ใช้ประโยชน้ ผู้เช่า ผู้บุกรุก

  • ดําเนินการปรับปรุงสภาพทําเล และลักษณะที่ราชพัสดุให้มีศักยภาพเพื่อรองรับการใช้ประโยชน้ การใช้ที่ดินให้คุ้มค่ากับศักยภาพ

  • ดําเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ราชพัสดุ

  • ดําเนินการเกี่ยวกับการขอคืนการใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุ

  • ดําเนินการเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ เช่น การซื้อขาย แลก เปลี่ยน ให้

  • ดําเนินการเกี่ยวกับการโต้แย้งกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุ

ส่วนประเมินราคาทรัพย์สิน มีบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในส่วน จำนวน 3 อัตรา
          ดําเนินการเกี่ยวกับการประเมินราคาทรัพย์สินในเขตพื้นที่สํารวจเก็บรวบรวมข้อมูลที่ดิน สิ่งปลูกสร้างและอาคารชุดค่าวัสดุก่อสร้าง ค่าจ้างแรงงาน ปรับปรุงแผนที่ให้เป็นปัจจุบัน จัดทําทะเบียนทรัพย์สิน วิเคราะห์และประเมินราคา บันทึกราคาประเมินรายแปลง บันทึกราคาประเมินรายบล็อก จัดทํารายงาน จัดเตรียมเอกสารเพื่อเสนอคณะอนุกรรมการ และคณะกรรมการกําหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ ตอบปัญหาข้อร้องเรียนเกี่ยวกับราคาประเมิน ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

 


ภารกิจตามแผนยุทธศาสตร์การปฏิบัติงาน

  1. นำที่ราชพัสดุสนับสนุนตามโครงการ "รัฐเอื้อราษฎร์"

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้การบริหารจัดการที่ราชพัสดุเกิดประโยชน์สูงสุดหรือเกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคม

  2. เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในการดำรงชีวิตของประชาชน ในด้านที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน

  3. เพื่อเสริมสร้างชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม ในการอยู่อาศัยของประชาชนให้ได้มาตรฐานในการดำรงชีพ

  4. ใช้ที่ดินของรัฐตามนโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจน

  5. นำที่ราชพัสดุไปสนับสนุนโครงการตามแนวพระราชดำริ

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. น้อมนำโครงการตามแนวพระราชดำริมาปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม

  2. เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสเรียนรู้และนำแบบอย่างไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของตนเอง

  3. เพื่อให้ที่ราชพัสดุมีศักยภาพสูงขึ้น

  4. เพื่อสร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

  5. นำที่ราชพัสดุสนับสนุนปลูกพืชอาหารและพืชทดแทนพลังงาน

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อเพิ่มพื้นที่ปลูกพืชอาหารและพืชทดแทนพลังงาน

  2. เพื่อเพิ่มมูลค่าที่ราชพัสดุ

  3. เพื่อส่งเสริมให้มีการทำการเกษตรปลูกพืชอาหารและพืชทดแทนพลังงานอย่างมีคุณภาพ

  4. นำที่ราชพัสดุจัดสร้างศูนย์แห่งความสุข (Happiness Center)ในที่ราชพัสดุ

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติของชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนผู้มาใช้บริการ โดยนำที่ราชพัสดุไปจัดทำศูนย์แห่งความสุข(Happiness Center)

  2. เพื่อปรับปรุงคุณภาพสวนสาธารณะ สนามกีฬา ลานกีฬา ห้องสมุดและหอศิลป์ในที่ราชพัสดุที่มีอยู่เดิมให้มีสภาพดีขึ้น โดยการพัฒนารูปแบบเป็นศูนย์แห่งความสุข(Happiness Center)

  3. พัฒนาที่ราชพัสดุให้เกิดประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจและสังคม

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อบริหารที่ราชพัสดุให้เกิดประโยชน์สูงสุด

  2. เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มรายได้ และเพิ่มมูลค่าทรัพย์สินของรัฐ ให้คุ้มค่ากับศักยภาพของที่ราชพัสดุ

  3. ภารกิจในการจัดการความรู้

        ในยุคที่มีการแข่งขันและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่วนราชการต้องสร้างให้ข้าราชการในส่วนราชการมีความรู้ เข้มแข็งและสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างเป็นระบบเพื่อช่วยผลักดันส่วนราชการให้บรรลุผล ตามยุทธศาสตร์ โดยในขั้นตอนของการแปลงแผนการปฏิบัติราชการสู่การปฏิบัติจริงนั้นประกอบด้วยองค์ประกอบหลายประการที่จะช่วยผลักดันสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ดังนี้

  1. การปรับโครงสร้างองค์การพื้นฐานเพื่อรองรับบุคลากรให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้สะดวก เช่น สถานที่ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ

  2. การปรัับขั้นตอนการทำงานให้รวดเร็ว และกระชับมากขึ้น เพื่อเอื้อต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และสะดวกยิ่งขึ้น

  3. การพัฒนาคนให้มีขีดความสามารถ มีระบบการยกย่องชมเชย และการให้รางวัลที่เอื้อต่อการจัดการความรู้ และมีวัฒนธรรมการทำงานเชิงรุก และวัฒนธรรมของการแลกเปลี่ยน และแบ่งปันความรู้ระหว่างบุคลากรในองค์การ

  4. ปรับกฎระเบียบ และกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

พันธกิจ
         พันธกิจ (Mission) คือ ความประสงค์ หรือความมุ่งหมายพื้นฐานขององค์การ ที่จะดำเนินการในระยะยาวอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นขอบเขตในการดำเนินงานก็ได้ พันธกิจที่ดีจะสามารถแยกความแตกต่างและคุณค่าขององค์การแต่ละแห่งได้อย่างชัดเจน ดังนั้นพันธกิจจะบ่งบอกงานขององค์การคืออะไรอะไรคือสิ่งที่องค์การต้องการจะเป็น และบางครั้งอาจจะแสดงสิ่งที่องค์การกำลังให้บริการแก่ลูกค้า

พันธกิจสำนักงานธนารักษ์พื้นที่ยะลา

  1. ปกครอง ดูแล บำรุงรักษาที่ราชพัสดุ ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม พร้อมที่จะนำไปใช้ประโยชน์โดยดำเนินการปกครองดูแลรักษา จัดให้ใช้ประโยชน์ และทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ราชพัสดุให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ภาครัฐ ตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518

  2. พัฒนาที่ราชพัสดุ เพื่อเพิ่มมูลค่าและหรือรายได้ที่ราชพัสดุในจังหวัดยะลามีจำนวน 984 ทะเบียน เนื้อที่ประมาณ 16,587 ไร่ มูลค่าประมาณ 1,768 ล้านบาท จากที่ดินทั้งจังหวัดประมาณ 2,800,000 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.59 สิ่งปลูกสร้างราชพัสดุประมาณ 4,286 หลัง มูลค่าประมาณ 3,471 ล้านบาท ที่ราชพัสดุที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในราชการ หรือมีศักยภาพ สามารถนำไปพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าหรือรายได้ ตามระเบียบและกฎหมายที่กำหนด

  3. ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ ในเขตพื้นที่จังหวัดยะลาให้ถูกต้องตามมาตรฐานสากล

        วิธีการประเมินราคาตามมาตรฐานสากล ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 วิธี คือ วิธีเปรียบเทียบราคาตลาด วิธีต้นทุน และวิธีรายได้ วิธีประเมินแต่ละวิธีนั้นมีรายละเอียดโดยสังเขปดังนี้

  1. วิธีเปรียบเทียบราคาตลาด (Market Approach)
             วิธีเปรียบเทียบราคาตลาดเป็นการหามูลค่าตลาดของทรัพย์สินที่ประเมินราคา โดยอาศัยการรวบรวมข้อมูลเปรียบเทียบจากทรัพย์สินอื่นๆ ที่มีลักษณะความคล้ายคลึงกันในด้านต่างๆ มากที่สุด ทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบ และปรับแก้ปัจจัยความต่างที่มีอยู่ระหว่างทรัพย์สินที่ประเมินกับทรัพย์สินเปรียบเทียบเหล่านั้น แล้วจึงสรุปผลเป็นความเห็นผู้ประเมินที่กำหนดเป็นมูลค่าตลาดของทรัพย์สินนั้น

  2. วิธีต้นทุน (Cost Approach)
            วิธีต้นทุนหรือวิธีมูลค่าต้นทุนทดแทนคงเหลือสุทธิ (Depreciated Replacement Cost หรือ DRC) หลักการสำคัญของวิธีนี้ คือ มูลค่าของทรัพย์สินได้จากผลรวมของมูลค่าที่ดินและมูลค่าสิ่งปลูกสร้าง กล่าวคือ มูลค่าที่ดินหาได้จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลซื้อขายที่มีสภาพการใช้ประโยชน์คล้ายคลึงกันจากตลาด

  3. วิธีรายได้ (Income Approach)
            วิธีรายได้เป็นวิธีการประเมินราคาที่ใช้สำหรับทรัพย์สินที่ก่อให้เกิดรายได้ หรือประเมินราคาในแง่ของการลงทุน เช่น โรงแรม ห้างสรรพสินค้า สำนักงานให้เช่า โรงพยาบาล เป็นต้น วิธีรายได้ยังเหมาะกับทรัพย์สินที่ราคาตลาดหรือราคาเสนอขายที่มีความเบี่ยงเบนสูง หรือทรัพย์สินที่มีข้อจำกัดการใช้งานในเรื่องของเวลา ซึ่งทำให้ราคาตลาดนั้นไม่มีเสถียรภาพ

  4. เป็นตัวแทนรับจอง จำหน่าย จ่าย แลกเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกและเหรียญที่ระลึก

เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน
       เป็นเหรียญกษาปณ์ที่ใช้หมุนเวียนกันอยู่ทั่วไปในชีวิตประจำวัน มี 9 ชนิดราคา คือ 10 บาท 5 บาท, 2บาท และ 1 บาท 50 สตางค์, 25 สตางค์, 10 สตางค์, 5 สตางค์ และ 1 สตางค์ แต่ที่ใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมี 6 ชนิดราคา คือ 10 บาท, 5 บาท ,2 บาทและ 1 บาท 50 สตางค์, 25 สตางค์ ส่วนเหรียญชนิดราคา 10 สตางค์, 5 สตางค์ และ1 สตางค์ มีใช้ในทางบัญชีเท่านั้น

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก
        เป็นเหรียญกษาปณ์ที่ผลิตออกใช้ในวโรกาสและโอกาสที่สำคัญต่าง ๆ เช่น เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 เป็นต้น โดยจัดทำ 2 ประเภท คือ ขัดเงา และไม่ขัดเงา

เหรียญที่ระลึก 
       เป็นเหรียญที่ผลิตขึ้นเนื่องในวโรกาสและโอกาสที่สำคัญต่างๆ ซึ่งมีความแตกต่างจากเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกตรงที่จะไม่มีราคาหน้าเหรียญเนื่องจากมิใช่เงินตราจึงไม่สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย

ปฏิบัติงานให้สำเร็จตามยุทธศาสตร์ของกรมธนารักษ์และจังหวัดยะลา

การบริหารยุทธศาสตร์สู่ความสำเร็จ

  1. กำหนดเป้าหมายของสำนักงาน ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับเป้าหมายกรมธนารักษ์และจังหวัด

  2. วินิจฉัยองค์การหรือการวินิจฉัยแต่ละส่วนฝ่ายโดยนำเครื่องมือ SWOT Analysis มาเป็นเครื่องมือ

  3. วางแผนยุทธศาสตร์สำนักงาน ด้วยแผนที่ยุทธศาสตร์(Startegy Map)ระดับหน่วยงาน

  4. การประเมินผลการปฏิบัติงาน และให้ข้อมูลย้อนกลับ(Feedback)

 

 

9 กรกฎาคม 2556 | จำนวนเข้าชม 3676 ครั้ง